กลุ่มบริหารวิชาการ

โครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการกลุ่มบริหารวิชาการ

หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ
          หน้าที่ : จัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการ  กำกับ  ติดตาม  กลั่นกรอง ดูแล อำนวยความสะดวก  ให้คำแนะนำ ปรึกษาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในกลุ่มการบริหารวิชาการตามขอบข่ายและภารกิจการบริหารวิชาการ วางแผนด้านวิชาการ พัฒนากระบวนการเรียนรู้ นิเทศการศึกษา ตลอดจนสนับสนุนและให้บริหารข้อมูล ข่าวสาร เอกสาร สื่อ อุปกรณ์ทางการศึกษา และทรัพยากรที่ใช้ในการจัดการศึกษาแก่เจ้าหน้าที่ของแต่ละฝ่ายงานเพื่อให้ฝ่ายบริหารจัดการได้อย่างสะดวกคล่องตัว มีคุณภาพและเกิดประสิทธิภาพ

คณะกรรมการงานประกันคุณภาพการศึกษา
     หน้าที่  :  ๑) กำหนดมาตรฐานการศึกษาเพิ่มเติมของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาชาติ มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและความต้องการของชุมชน
                   ๒) จัดระบบบริหารและสารสนเทศ  โดยจัดโครงสร้างการบริหารที่เอื้อต่อการพัฒนางานและการสร้างระบบประกันคุณภาพภายในจัดระบบสารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่ ข้อมูลมีความสมบูรณ์เรียกใช้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
                   ๓) จัดทำแผนสถานศึกษาที่มุ่งเน้นคุณภาพการศึกษา (แผนกลุยุทธ์/แผนยุทธศาสตร์)
                   ๔) ดำเนินการตามแผนพัฒนาสถานศึกษาในการดำรงโครงการ/กิจกรรมสถานศึกษา ต้องสร้างระบบการทำงานที่เข้มแข็งเน้นการมีส่วนร่วม และวงจรการพัฒนาคุณภาพของ เดมมิ่ง (Deming Cycle) หรือที่รู้จักกันว่า วงจร PDCA
                   ๕) ตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาโดยดำเนินการอย่างจริงจังต่อเนื่องด้วยการสนับสนุนให้ครู ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม
                   ๖) ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาตามมาตรฐานที่กำหนดเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
                   ๗) จัดทำรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี (SAR) และสรุปรายงานประจำปี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัดและเผยแพร่ต่อสาธารณชน

คณะกรรมการงานวิเคราะห์และจัดทำแผนโรงเรียน
          หน้าที่  : ๑) ทบทวนภารกิจการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และศึกษารายงานข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
                   ๒) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของสถานศึกษาที่มีผลต่อการจัดการศึกษา (SWOT) และประเมินสถานภาพของสถานศึกษา
                   ๓) กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) และเป้าหมาย (Corporate Objective) ของสถานศึกษา
                   ๔) กำหนดกลยุทธ์ของสถานศึกษา
                   ๕) กำหนดผลผลิต (Outputs) ผลลัพธ์ (Outcomes) และตัวชี้วัดความสำเร็จ (Key Performance Indicators : KPIs)  โดยจัดทำเป็นข้อมูลสารสนเทศ
                   ๖) กำหนดเป้าหมายระยะปานกลางของผลผลิตในเชิงปริมาณ คุณภาพ และผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับผลการปฏิบัติงานของสถานศึกษาที่จะทำร่างข้อตกลงกับเขตพื้นที่การศึกษา
                   ๗) จัดทำรายละเอียดโครงสร้าง แผนงาน งาน/โครงการ และกิจกรรมหลัก
                   ๘) จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงและนำเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการสถานศึกษา
                   ๙) เผยแพร่ประกาศต่อสาธารณชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง

คณะกรรมการงานวัดผลประเมินผล
          หน้าที่  :  ๑) กำหนดระเบียบการวัดและประเมินผลของสถานศึกษาตามหลักสูตรสถานศึกษา โดยสอดคล้องกับนโยบายระดับประเทศ
                   ๒) จัดทำเอกสารหลักฐานการศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบการวัดและประเมินผลของสถานศึกษา
                   ๓) วัดผล ประเมินผล เทียบโอนประสบการณ์ผลการเรียนและอนุมัติผลการเรียน
                   ๔) จัดให้มีการประเมินผลการเรียนทุกชั่วชั้นและจัดให้มีการซ่อมเสริมกรณีที่มีผู้เรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
                   ๕) จัดให้มีการพัฒนาเครื่องมือในการวัดและประเมินผล
                   ๖) จัดระบบสารสนเทศด้านการวัดผลประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียนเพื่อใช้ในการอ้างอิง ตรวจสอบและใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอน
                   ๗) ผู้บริหารสถานศึกษาอนุมัติผลการประเมินการเรียนด้านต่าง ๆ รายปี/รายภาค และตัดสินผลการเรียน การผ่านช่วงขั้น และจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

คณะกรรมการงานทะเบียนและเทียบโอน
          หน้าที่  :  ๑) ประสานงานวัดผลประเมินเพื่อดำเนินงาน จัดระบบสารสนเทศงานทะเบียนและการเทียบโอนผลการเรียนเพื่อใช้ในการอ้างอิง ตรวจสอบและใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอน
                   ๒) จัดทำเอกสารหลักฐานการศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบประเมินผลของสถานศึกษา
                   ๓) เทียบโอนประสบการณ์ผลการเรียนและขออนุมัติผลการเรียน
                   ๔) ผู้บริหารสถานศึกษาอนุมัติผลการประเมินการเรียนด้านต่าง ๆ รายปี/รายภาค และตัดสินผลการเรียนการผ่านช่วงชั้นและจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๕) การเทียบโอนผลการเรียนเป็นอำนาจของสถานศึกษาที่จะแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ  ได้แก่  คณะกรรมการเทียบระดับการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย คณะกรรมการเทียบโอนผลการเรียน และเสนอคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและวิชาการพร้อมทั้งให้ผู้บริหารสถานศึกษาอนุมัติการเทียบโอน